จบปัญหา อาการนอนไม่หลับ

นับแกะก็แล้ว พยายามข่มตาหลับก็แล้ว ทำยังไงก็นอนไม่กลับซะที ปัญหาการนอนที่คนจำนวนไม่น้อยต้องเผชิญ เมื่อร่างกายพักผ่อนไม่เต็มที่ก็จะส่งผลเสียต่ออารมณ์และสุขภาพ แล้วจะทำยังไงล่ะถึงนอนหลับ?


อาการนอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับเป็นได้หลายกรณี อาจเป็นภาวะนอนหลับยาก ซึ่งต้องใช้เวลานานเกินกว่าครึ่งชั่วโมงจึงจะหลับได้ หรือไม่ก็เป็นประเภทนอนหลับๆ ตื่นๆ จนถึงเช้า หรือตื่นนอนเร็วกว่าปกติ รวมไปถึงพวกนอนหลับได้จริง แต่มีอาการหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep apnea)


สาเหตุของอาการนอนไม่หลับ
ปัจจัยที่ทำให้เราเกิดอาการนอนไม่หลับนั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น โรคทางระบบฮอร์โมนและต่อมไร้ท่อ การดื่มชากาแฟ การเสพสิ่งเร้าที่กระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัวเกินกว่าปกติก่อนเข้านอน เช่น การฟังเรื่องน่ากลัวสยดสยอง หรือการดูภาพยนตร์แอคชั่นมันส์สะใจจนเกินไป นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องของอายุที่มากขึ้น ภาวะวิตกกังวลและซึมเศร้า หรือความเครียดที่สุมเข้ามาในแต่ละวัน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมในห้องนอนที่ไม่เหมาะสม เช่น เสียงดังเกินไป มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ อุณหภูมิร้อนหรือหนาวเกินไป แสงจ้ามากเกินไป ซึ่งอาการนอนหลับยากจากปัจจัยเหล่านี้มักหายได้เอง หากปรับเปลี่ยน แก้ไข หรือขจัดตัวการเหล่านั้นลงได้

ผลเสียของการนอนไม่หลับ
ผลเสียของการนอนหลับไม่เพียงพอในระยะสั้น มักมีลักษณะที่เห็นได้โดยทั่วไป เช่น หน้าตาอิดโรยดูเหมือนซอมบี้เดินได้ อ่อนเพลียขาดสมาธิ สมองตื้อ อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ หงุดหงิดง่าย เหวี่ยงวีนอย่างไม่มีเหตุผล หากอาการนอนไม่หลับเข้าขั้นเรื้อรังนานเกินกว่า 1 สัปดาห์ อาจกระทบต่อประสิทธิภาพการเรียน การทำงาน รวมถึงการใช้ชีวิตด้านอื่นๆ เช่น การขับขี่รถยนต์ หรือการประกอบอาชีพที่ต้องใช้เครื่องจักร


การพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาน่าจะเป็นการแก้ไขที่ดีที่สุด เพราะหากปล่อยให้อาการนอนไม่หลับเรื้อรัง อาจนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ ทั้งนี้สำหรับเด็กและวัยรุ่นการนอนหลับไม่เพียงพอจะกระทบกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกาย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับจากฮอร์โมนที่หลั่งในช่วงที่หลับลึก


การป้องกัน

  • เข้านอนตรงเวลาและตื่นนอนตรงเวลาทุกวัน
  • ใช้เตียงนอนเพื่อการนอนเท่านั้น ไม่อ่านหนังสือ หรือดูโทรทัศน์บนเตียง
  • หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ควรหลีกเลี่ยงช่วง 2 ชั่วโมงก่อนนอน
  • อาบน้ำอุ่นที่ผสมน้ำมันหอมระเหยอ่อนๆ เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย
  • ดื่มนมอุ่นๆ ผสมน้ำผึ้งเล็กน้อยก่อนนอน (หลายคนอาจไม่ทราบว่า ในนมนั้นอุดมไปด้วยกรดอะมิโนทริปโตแฟน (Tryptophan) ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ฮอร์โมนที่ช่วยในการนอนหลับ)

การดูแลสุขภาพและการรักษา
สำหรับการรักษาโดยใช้ยานอนหลับนั้นควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะยานอนหลับกลุ่มBenzodiazepine ที่อาจทำให้ติดยาและมีแนวโน้มที่จะใช้ยาในขนาดที่สูงขึ้นตามลำดับหากทานต่อเนื่องเป็นประจำ หรือเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยให้ผ่อนคลายและลดความเครียด ทำให้นอนหลับง่ายขึ้น ซึ่งมีความปลอดภัยและปราศจากผลข้างเคียง เช่น


วาเลอเรียน (Valerian)

พืชสมุนไพรที่มีคุณสมบัติช่วยผ่อนคลายและช่วยให้นอนหลับ ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพการนอนที่ดี อาจทำให้คุณสามารถขจัดอาการนอนไม่หลับอย่างได้ผลและปลอดภัย โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งยานอนหลับที่เป็นสารเคมีแต่อย่างใด

วิตามินบีรวม (B-Complex)
สารอาหารที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของสมองและระบบประสาท และยังเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญต่อร่างกายทำให้รู้สึกสดชื่นไม่อ่อนเพลีย สมองปลอดโปร่ง เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเครียดสูงจากการทำงานหนัก เพราะภาวะที่ร่างกายเกิดความเครียดย่อมต้องการวิตามินมากเป็นพิเศษหลายเท่า


อิโนซิทอล (Inositol)
สารอาหารหนึ่งในกลุ่มวิตามินบี มีคุณสมบัติในการสร้างสารสื่อประสาทเซโรโทนินและการป้องกันการทำลายเซโรโทนิน ซึ่งพบว่าการพร่องของสารสื่อประสาทประเภทนี้ทำให้เกิดอาการนอนหลับยาก ซึมเศร้า กังวล ตื่นกลัว ย้ำคิดย้ำทำ

แอล-ไธโรซีน (L-Tyrosine)
เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาทหลายชนิด ช่วยปรับสภาวะการนอนหลับให้ดีขึ้น รวมทั้งยังช่วยคลายความซึมเศร้า อาการวิตกกังวล ทำให้จิตใจแจ่มใสมากขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาการนอน และผู้ที่ต้องเผชิญความเครียดสูง